วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552




เมนบอร์ด (mainboard)

หรือที่เรียกอีกชื่อว่า มาเธอร์บอร์ด (Motherboard) คือ แผงวงจรขนาดใหญ่ที่รวบรวมเอาส่วนประกอบหลัก ๆ ที่สำคัญของคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน มีลักษณะลักษณะเป็นแผ่น circuit board รูปร่างสีเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเต็มไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน ดังนั้นเมนบอร์ดจึงเป็นเสมือนกับศูนย์กลางในการทำงานและเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ฟล็อปปี้ดิสก์ การ์ดต่าง ๆ

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด

1.ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU Socket) เป็นช่องสำหรับใส่ซีพียู มีความแตกต่างไปตามรุ่นของซีพียูที่สามารถติดตั้งได้ ดังนั้นเราจึงต้องเลือกเมนบอร์ดให้เหมาะกับซีพียูที่จะใช้ ซ็อกเก็ตซีพียูที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่4แบบ คือ Socket 478 และ LGA 775 สำหรับ Pentium 4, ซีพียู Athlon 64 (FX) จะใช้ Socket 754 และ Socket 939 และล่าสุดกับ Socket AM2+ ซึ่งจะรองรับแรม DDR2 ของซีพียูจาก AMD

2.ชิพเซต (Chipset) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดที่อยู่บนเมนบอร์ด โดยชิพเซตจะเป็นตัวกำหนดเมนบอร์ดว่าจะให้ทำงานร่วมกับซีพียูตัวไหน เพราะชิพเซตได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานกับซีพียูตัวนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชิพเซตบนเมนบอร์ดจะมีอยู่ 2 ตัว คือ ชิพเซต North Bridge และชิพเซต South Bridgeชิพเซต North Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลของซีพียูและแรม ตลอดจนสล๊อตของการ์ดแสดงผล ส่วนชิพเซต South Bridge มีขนาดเล็กกว่า ชิพเซต North Bridge มีหน้าที่ควบคุมสล๊อตของการ์ด PCI, ดิสก์ไดรว์ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ด เมาส์ หรือพอร์ตต่างๆที่อยู่ด้านหลังเครื่อง

3.ซ็อกเก็ตแรม (RAM Socket)เป็นช่องสำหรับใส่แรม ปัจจุบันมีใช้อยู่ 2 แบบ คือ DDR2 และ DDR3 ซึ่งไม่สามารถใช้ร่วมกันได้เนื่องจากมีร่องบากต่างกัน

4.สล๊อตของการ์ดแสดงผล (Graphic Card Slot) ไว้สำหรับใส่การ์ดแสดงผล (Graphic Card) โดยมีสล๊อตอยู่ 2 แบบ คือ สล๊อต AGP (Accelerate Graphic Port) และ สล๊อต PCI Express x16 โดยทั้งสองแบบจะไม่เหมือนกัน ปัจจุบันบอร์ดรุ่นใหม่นิยมใช้ PCI Express x16 กันหมดแล้ว เนื่องจากมีความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลระดับ 4GB/s ซึ่งสูงกว่าแบบ AGP ถึง2เท่า

5.สล๊อต PCI (Peripheral Component Interconnect)ทำงานที่ความเร็ว 33MHz และ ส่งข้อมูลที่ 32 บิตทำให้มีอัตราการรับส่งข้อมูลที่ 133 MB/s สล๊อต PCI มีไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น การ์ดเสียง การ์ดโมเด็ม หรือการ์ดแลน เป็นต้น

6.หัวต่อไดรว์ต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ หัวต่อสำหรับฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ (Floppy Disk Drive) และ หัวต่อสำหรับฮาร์ดดิสก์และไดรว์ซีดี/ดีวีดี หัวต่อฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์มีจำนวนขา 34 ขา (ขาที่ 5 ถูกหักออกเพื่อป้องกันการเสียบผิด) ใช้เชื่อมต่อกับไดรว์ฟล็อปปี้ดิสก์ ส่วนหัวต่อฮาร์ดดิสก์และไดรว์ซีดี/ดีวีดี ปัจจุบันนิยมใช้อยู่2แบบคือ*หัวต่อแบบ IDE เหมือนกับฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ แต่มันจำนวนเข็ม 40 ขา (ขาที่ 20 ถูกหักออกเพื่อป้องกันการเสียบผิด) ปกติเมนบอร์ดจะมีหัวต่อแบบ IDE มาให้ 2 ช่องคือ IDE1 จะเรียกว่า Primary และ IDE2 เรียกว่า Secondaryแต่ละหัวต่อจะเชื่อมอุปกรณ์ได้ 2 ตัวขนานกันในสายแพเส้นเดียวกัน จึงสามารถต่ออุปกรณ์ได้ทั้งหมด 4 ตัว การต่อแบบขนานนี้ ทำให้อุปกรณ์ที่ต่อบนสายแพเส้นเดียวกัน หน่วงการทำงานของกันและกันได้ การเชื่อมต่อแบบ IDE นี้อาจจะเรียกว่า “เอทีเอแบบขนาน (Parallel ATA)”*หัวต่อแบบ Serial ATA (SATA) มีขนาดเล็กกว่าแบบ IDE มาก ใช้การเชื่อมต่อแบบอนุกรม การเชื่อมต่อแบบ Serial ATA (SATA) ทำให้ไม่เกิดการหน่วงกันของอุปกรณ์แบบเดียวกับ IDE ทั้งยังมีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลที่สูงกว่า คือ 150 MB/s และชิพเซต nForce 4 Ultra/SLi เป็นชิพเซตรุ่นแรกที่สนับสนุน Serial ATA Mode 2 ที่ 300 MB/s

7.หัวต่อแหล่งจ่ายไฟ รูปแบบของหัวต่อแหล่งจ่ายไฟมีอยู่ 2 แบบ คือ หัวต่อ ATX เป็นหัวต่อหลักที่เมนบอร์ดทุกรุ่นจะต้องมี โดยเป็นชุดจ่ายไฟหลักสำหรับเมนบอร์ด เดิมหัวต่อแบบ ATX เป็นแบบ 20 ช่อง (2 แถว แถวละ 10 ช่อง) แต่ปัจจุบันหัวต่อแบบ ATX ที่ใช้กับเมนบอร์ดรุ่นใหม่จะเป็นแบบ 24 ช่อง (2 แถว แถวละ 12 ช่อง) โดยเพิ่มตำแหน่งของการจ่ายไฟให้มากขึ้นหัวต่อแบบที่ 2 เรียกว่า ATX 12V หัวต่อแบบนี้จะจ่ายแรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 จุด ซึ่งเมนบอร์ดทุกรุ่นในปัจจุบันจะต้องใช้ ATX 12V เพิ่มจากหัวต่อ ATX หลักที่ต้องมีอยู่แล้ว และแหล่งจ่ายไฟที่จำหน่ายในปัจจุบันจะมีหัวต่อ ATX 12V นี้มาให้อยู่แล้วเช่นกัน

8.ชิพรอมไบออส (ROM BIOS)เป็นหน่วยความจำแบบรอม (ROM - Read Only Memory) ที่บรรจุโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องเอาไว้ โดยไบออส (BIOS - Basic Input Output System) จะทำหน้าที่ตรวจอุปกรณ์ต่างๆเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะได้เริ่มกระบวนการเปิดเครื่องได้อย่างถูกต้องหากไบออสตรวจพบความผิดปกติ ก็จะส่งเสียงเป็นรหัสออกทางลำโพง ทำให้เราได้รู้ว่าได้เกิดปัญหาขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว วงจรชิพไบออสจะต้องมีแบตเตอรี่ไว้คอยเก็บค่าของไบออส เพื่อไม่ให้ข้อมูลศูนย์หายไปเมื่อปิดเครื่อง และใช้จ่ายไฟให้กับวงจรนาฬิกาในไบออสเพื่อให้นาฬิกาของเครื่องเดินตามปกติอายุการใช้งานของแบตเตอรี้ปกติจะอยู่ที่ 3-5 ปีขึ้นไป เมื่อใดที่เปิดเครื่องขึ้นมาแล้วหน้าจอแสดงคำว่า “Invalid CMOS Check Sum Error” แสดงว่าแบตเตอรี่กำลังจะหมด ให้เปลี่ยนแบตเตอรี่เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้ทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา

9.หัวต่อสายสวิตช์ควบคุม ช่องเสียบสายสวิตช์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์คือ ตำแหน่งของสายสวิตช์จากด้านหน้าเคส เพื่อใช้ควบคุมการเปิด/ปิดเครื่อง และรีสตาร์ทเครื่อง รวมถึงไฟแสดงสถานะการทำงานของเครื่องและฮาร์ดดิสก์ด้วย

10.พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ เป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ โดยลักษณะของพอร์ตจะแตกต่างตามอุปกรณ์

จำนวนชนิดของเมนบอร์ดขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่เราใช้ในการแบ่ง ดังนี้

1. แบ่งตามโครงสร้างของเมนบอร์ด หรือ ฟอร์มแฟกเตอร์ (Form Factor) ซึ่งเป็นคำที่ใช้กำหนดลักษณะทางกายภาพของเมนบอร์ดต่าง ๆ จากหลายยี่ห้อที่ทำออกมาจำหน่ายกันในท้องตลาด ฟอร์มแฟคเตอร์เดียวกัน จะมีรูปแบบที่ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น ในการวางหรือจัดตำแหน่งของช่องเสียบ (Port) ต่าง ๆ ขนาดความกว้าง ยาวของตัวเมนบอร์ด ฯลฯ หากแบ่งตามฟอร์มแฟกเตอร์แล้ว ชนิดของเมนบอร์ดจะมี 6 ชนิด ได้แก่ AT, Baby AT, ATX, Micro ATX, Flex ATX, LPX, NLX แต่ว่าในปัจจุบันฟอร์มแฟคเตอร์ที่เป็นแบบ ATไม่ผลิตแล้ว เมนบอร์ดที่มีในตลาดมากจะเป็นแบบ ATX คะ2. แบ่งตามลักษณะการอินเตอร์เฟซ (Interface) ของซีพียู ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น

2 กลุ่มใหญ่ คือ แบบสล็อต กับ แบบซ็อกเก็ต เมนบอร์ดที่ใช้การเชื่อต่อแบบสล็อตในปัจจุบันหาซื้อได้ยากแล้ว เนื่องจากซีพียูแบบตลับที่ใช้เสียบกับสล็อตเลิกผลิตแล้ว คงมีเพียงที่ผลิตออกมารองรับซีพียูเดิม ส่วนเมนบอร์ดแบบซ็อกเก็ตในปัจจุบันมีออกมาแข่งขันกันจำนวนมาก เช่น Socket A, Socket 478 เป็นต้นคะ

การเลือกซื้อเมนบอร์ด

การเลือกซื้อเมนบอร์ดให้ตรงตามความต้องการหลังจากที่เราได้ทำการวางแผนในการเลือกซื้ออุปกรณ์อื่นๆ ได้หมดแล้วคราวนี้ก็มาถือการเลือกซื้อเมนบอร์ดที่จะนำเอาอุปกรณ์เหล่านั้นมารวมกัน

1. รองรับกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีของอุปกรณ์

ไม่ว่าคุณกำลังจะซื้อเมนบอร์ดใหม่เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ทั้งชุดหรือซื้อเพื่อการอัปเกรดคอมพิวเตอร์ตัวเก่าของคุณ สิ่งแรกก็คือคุณต้องดูก่อนว่าเมนบอร์ดที่สามารถรองรับกับอุปกรณ์ที่คุณใช้อยู่ หรือกำลังจะใช้นั้นมีรุ่นใดบ้างอย่างแรกก็คงหนีไม่พ้นส่วนของอินเทอร์เฟซ หรือ Socket ที่ใช้สำหรับใส่ซีพียู ซึ่งเป็นสิ่งแรกทีต้องมองก่อนว่าซีพียูที่คุณใช้นั้นใช้อินเทอร์เฟซแบบใด ถ้าเป็น Intel Pentium หรือ Celeron รุ่นใหม่ๆ เดี่ยวนี้จะใช้อินเทอร์เฟซที่เรียกว่า LGA 775 ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซแบบใหม่ ที่รองรับซีพียูถึงระดับ Dual Core (ถ้าชิปเซตรองรับ) ส่วนถ้าเป็นรุ่นเก่าหน่อยก็จะใช้ Socket 478 ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็เริ่มหายไปจากท้องตลาดที่ละน้อยแล้ว ส่วนผู้ที่จะใช้ซีพียู AMD นั้นก็จะมี 2 ทางเลือกคือ Socket 939 สำหรับซีพียูระดับสูงและระดับกลางที่รองรับซีพียู Dual Core ได้ และ Socket 754 สำหรับซีพียูระดับล่าง ที่มีข้อจำกัดหลายๆ อย่างที่ต่างจาก Socket 939 อยู่เหมือนกัน ส่วน Socket A นั้นแม้ว่าจะยังพอหาซื้อได้ แต่ไม่แนะนำเพราะมันเก่ามากและไม่คุ้มกับการซื้อมาใช้แล้วครับอย่างที่สองคือเรื่องของหน่วยความจำ ซึ่งถ้าคุณต้องการใช้งานหน่วยความจำรุ่นใหม่ที่เป็น DDRII ล่ะก็คุณต้องเลือกเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซตรุ่นใหม่ๆ และจะมีเฉพาะกับเมนบอร์ดที่รองรับซีพียู Intel เท่านั้นด้วย โดยช่องใส่ DDRII จะมีขาที่ถี่กว่า และไม่สามารถใช้งานร่วมกับ DDR ธรรมดาได้

2. ชิปเซต

เป็นที่แน่นอนว่าชิปเซตเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญบนเมนบอร์ด และเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติเกือบทั้งหมดของตัวเมนบอร์ดเลย ดังนั้นมันจึงมีความสำคัญและส่งผลต่อประสิทธิภาพและความเสถียรค่อนข้างมากเลยทีเดียว หากคุณใช้ซีพียู Intel และมีงบประมาณที่มาก ก็ควรเล่นชิปเซตในระดับ High-End ทั้งของ Intel อย่าง Intel 955X หรือ Intel 975X ไปเลย หรือจะเป็นของ nVidia nForce4 SLI ก็น่าสนใจเพราะสามารถรองรับ SLI ได้ด้วย ส่วนผู้ที่ต้องการใช้ซีพียู AMD ก็คงมีแต่ชิปเซต nForce4 เท่านั้นที่เป็นที่พึ่งพาได้ ถ้าคุณต้องการเมนบอร์ดระดับกลางคือมีงบประมาณที่ไม่จำกัดมากจนเกินไปนักก็ตัวเลือกที่เหมาะสมก็ยังคงอยู่ที่ชิปเซต Intel และ nVidia อยู่ดี โดยถ้าคุณใช้ซีพียู Intel ล่ะก็ ชิปเซตที่เหมาะสมน่าจะเป็นชิปเซตในตระกูล Intel 915 หรือ Intel 945 ครับ ส่วนผู้ใช้ซีพียู AMD ก็จะมีตัวเลือกเป็น nForce3 และ nForce4 ครับ โดยมีให้เลือกหลายรุ่นหลายระดับ นอกจากนี้ก็อาจจะลองชิปเซต ATI Xpress200 ซึ่งเป็นชิปเซตตัวใหม่ที่ประสิทธิภาพพอใช้ก็ถือว่าโอเคครับ สุดท้ายสำหรับผู้ที่มีงบประมาณประหยัดจริงๆ และไม่ซีเรียสเรื่องความเสถียรมากนัก ทางเลือกของคุณก็คือชิปเซตจาก SIS และ VIA ซึ่งสองค่ายนี้ค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพต่ำ หมายถึงมีความสามารถในการรองรับเทคโนโลยีต่างๆ ได้น้อยกว่าของ Intel และ nVidia รวมถึงเรื่องความเสถียรด้วย มันจึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีงบประมาณประหยัดจริงๆ เท่านั้น

3. อุปกรณ์ที่ติดมากับเมนบอร์ด

เมนบอร์ดในปัจจุบันนั้นค่อนข้างต่างจากเมนบอร์ดสมัยก่อนมาก เพราะเดี๋ยวนี้อุปกรณ์แทบทุกอย่าง ถูกนำมาใส่รวมไว้บนเมนบอร์ดเกือบหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นซาวนด์การ์ด, แลนการ์ด, RAID หรือบางรุ่นก็มีกราฟิกชิปติดตั้งมาให้ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องดูให้ดีๆ ด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์มาใส่เพิ่มเองให้เสียตัง- Sound ว่าด้วยเรื่องของซาวนด์การ์ดที่ติดมากับบอร์ดหรือ Sound onboard นั่นเอง เมื่อก่อนจัดได้ว่าเป็นซาวนด์การ์ดแก้ขัด คือขอเพียงแค่มีเสียง ฟังเพลงได้นิดๆ หน่อยๆ ก็โอเคแล้ว เสียงไม่ต้องเลิศเลอมากนัก แต่ปัจจุบันซาวนด์ออนบอร์ดได้พัฒนาจนมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ซี่งในตอนนี้เมนบอร์ดทุกตัวอย่างน้อยๆ ก็ต้องมีระบบเสียง 5.1 Channel ติดมาให้อยู่แล้ว ทำให้คุณพร้อมสำหรับดูหนัง DVD ได้ทันที แต่ถ้าต้องการประสิทธิภาพมากกว่านั้นก็ยังมีแบบ 7.1 Channel รวมถึงระบบเสียงแบบ High Definition ที่ให้เสียงดียิ่งขึ้นอีกด้วย- Network ระบบเครือข่ายเดี๋ยวนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากขึ้น เพราะว่าในบ้านของคุณอาจจะมีคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่อง นอกจากนี้การเชื่อมด้วย High-Speed Internet ในบ้างครั้งก็ใช้การ์ดแลนในการเชื่อมต่อ ดังนั้นเมนบอร์ดแทบจะทุกรุ่นจึงมีการติดตั้งการ์ดแลนมาด้วย แต่จะเป็น 10/100 ธรรมดา หรือจะเป็นระดับ Gigabit ก็ขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด ซึ่งการใช้งานจริงๆ แล้ว 10/100 ก็เพียงพอต่อความต้องการเพราะเครือข่ายระดับ Gigabit นั้นก็จำเป็นจะต้องมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับ Gigabit ด้วยเช่นกัน

4. ยี่ห้อ

มาถึงส่วนที่หลายคนรอคอย เพราะเคยได้ยินคนเคยเถียงกันเรื่องเมนบอร์ดยี่ห้อไหนดีที่สุด จริงๆ แล้วเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อต่างก็มีข้อดีและจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประสิทธิภาพ การออกแบบที่สวยงาม เทคโนโลยีหรือลูกเล่นเสริม รวมถึงเรื่องของของแถมด้วย ดังนั้นจึงไม่มียี่ห้อไหนที่เรียกว่าดีที่สุด หากคุณต้องการเมนบอร์ดที่เหมาะกับคุณสักตัว อย่างแรกก็คือคุณต้องดูรายละเอียดของมันเสียก่อนว่ามีความเหมาะสมกับความต้องการข้างต้นที่กล่าวมาแล้วหรือเปล่า ซึ่งถ้ามีเมนบอร์ดหลายตัวที่เข้ามารอบมาให้คุณตัดสิน คราวนี้ค่อยมาดูรายละเอียดกันในเรื่องของการออกแบบ เพราะบางคนชอบเมนบอร์ดสวยๆ บางคนชอบเมนบอร์ดที่สามารถปรับแต่งได้เยอะ บางคนชอบเมนบอร์ดที่มีลูกเล่นแปลกๆ ให้ลอง ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนไปครับยี่ห้อเมนบอร์ดในท้องตลาดก็จะมีอยู่กัน 2 ระดับ คือยี่ห้อที่ผลิตเมนบอร์ดในระดับกลางถึงสูงอย่างที่เราคุ้นๆ หูกันไม่ว่าจะเป็น Asus, MSI, Gigabyte, DFI, Abit และอีกหลายๆ ยี่ห้อ ซึ่งเมนบอร์ดเหล่านี้จะมีการออกแบบที่สวยงาม มีอุปกรณ์แถมมาให้ครบเครื่อง และการทำคู่มือ หรือชิ้นงานของตัวเมนบอร์ดก็จะดูพิถีพิถันกว่า ส่วนยี่ห้อเมนบอร์ดอีกแบบคือแบบ Low-Cost ซึ่งเป็นเมนบอร์ดราคาถูกอย่างยี่ห้อ ASRock, ECS และ Axper น้องใหม่ที่แตกออกมาจาก Gigabyte โดยเมนบอร์ดเหล่านี้ก็สามารถทำงานได้เช่นเดียวกัน แต่ที่มีราคาถูกเพราะตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็นทิ้ง ทั้งเรื่องของแถม การทำคู่มือ ชิ้นงานของตัวเมนบอร์ดที่ได้รับการออกแบบมาอย่างง่ายๆ นอกจากนี้ยี่ห้อเหล่านี้ส่วนมากจะหลีกเลี่ยงที่จะพัฒนาเมนบอร์ดด้วยชิปเซตระดับสูงๆ ซึ่งทำให้มีราคาแพงนั่นเอง

5. การรับประกันเมนบอร์ด

ถือว่าเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องของการใช้งานแต่อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าเมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ทุกชนิด บนเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อเมนบอร์ดเกิดการเสียหายขึ้นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อก็หยุดการทำงานไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์อื่นเข้ากับเมนบอร์ดควรให้ความ ระมัดระวังกันสักนิด สาเหตุเหตุหลักของการทำให้เมนบอร์ดเสียหายนั้นเกิดขึ้นได้หลายกรณีแต่ที่เห็นกันบ่อยมากนั้นคงหนีไม่พ้นการที่ผู้ใช้ทำการดัดแปลงการ ทำงานของเมนบอร์ดในส่วนต่างๆ และการโอเวอร์คล็อก จนทำให้เมนบอร์ดเสียหายเมื่อเกิดเหตุการณ์ในกรณีเช่นนี้แล้วทางผู้ผลิตถือ ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจาก ผู้บริโภคไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากขั้นตอนการผลิต รับรองรองได้ว่ากระปุกออมสินของคุณต้องถูกทุบเพื่อนำมาซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่แน่นอน การรับประกัน เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะรับประกันผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 3 ปีเท่านั้น

6. งบประมาณ

กลับมาพูดเรื่องงบประมาณปิดท้ายอีกเช่นเคย สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเมนบอร์ดอยู่และอยากที่จะทราบราคาพอคราวๆ ของเมนบอร์ด เพื่อจะได้ตัดสินใจว่าจะใช้เมนบอร์ดระดับใด เมนบอร์ดระดับ Low Cost สำหรับผู้ที่ต้องการความประหยัดจะมีราคาตั้งแต่ 1 พันกว่าบาทเรื่อยไปแต่ไม่เกิน 3 พัน ซึ่งจะมีทั้งรุ่นที่ใช้ชิปเซตดีๆ อยู่บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ใช้เมนบอร์ดระดับนี้ต้องทำใจครับว่าของแถมอาจจะไม่ครบเครื่อง และลูกเล่นจะมีไม่ค่อยมากครับเมนบอร์ดระดับกลางนั้นจะมีราคาอยู่ที่ 3 พันบาทขึ้นไปจนถึงราวๆ 5 พันกว่าบาทครับ ซึ่งเป็นราคาที่คุณจะได้ชิปเซตที่ทำงานได้ดีอย่าง Intel และ nVidia ได้ นอกจากนี้ลูกเล่นและคุณสมบัติการทำงานของเมนบอร์ดก็ยังถูกใส่มาให้เพียบอีกด้วย โดยสวยใหญ่จะเป็นลูกเล่นมาตรฐานที่ติดมากับชิปเซตอยู่แล้ว และอาจจะมีการใส่ Controller เพิ่มเติมอีกนิดหน่อยเท่านั้น ส่วนเมนบอร์ดระดับ Top หรือ High-End นี้จะมีราคาตั้งแต่ 6 พันบาทขึ้นไปจนทะลุขึ้นไปหลักหมื่นเลยก็มี ความพิเศษของเมนบอร์ดในระดับนี้คือใช้ชิปเซตคุณภาพสูง มีลูกเล่นพร้อมหน้าพร้อมตา อย่าง SLI หรือ Crossfire นอกจากนี้ของแถมหรือความสามารถพิเศษก็ยังใส่มากันแบบใช้ไม่หมดเช่น Dual Gigabit LAN, SATA 8 พอร์ตพร้อม RAID 5 เมนบอร์ดบางรุ่นยังมี Bluetooth หรือ Wi-Fi ติดมาให้อีกด้วย ซึ่งถ้าคุณไม่จำเป็นต้องใช้สิ่งเหล่านี้ (ส่วนใหญ่ก็คงไม่ต้องใช้) ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อเมนบอร์ดระดับนี้ไปใช้งานก็ได้

หน้าที่ของเมนบอร์ด

แผงวงจรหลักก็เหมือนกับพื้นที่ชุมชน เส้นทางการคมนาคมศูนย์ควบคุมการจราจร โดยมีกฎหมายว่าด้วยการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เป็นตัวบทกฎหมายหลักและถูกสร้างขึ้นด้วยทฤษฎีการทำงานของคอมพิวเตอร์เราจะแนะนำส่วนประกอบแต่ละส่วนของเมนบอร์ด ว่าประกอบด้วยส่วนประกอบใดบ้างเมนบอร์ด ถึงแม้จะทำงานเหมือนกัน หลักการทำงานเดียวกัน แต่หน้าตาและส่วนประกอบของเมนบอร์ด ถึงแม้จะทำงานเหมือนกัน หลักการทำงานเดียวกัน แต่หน้าตาและส่วนประกอบของเมนบอร์ดนั้นอาจจะมีหลากหลายแตกต่างไปตาม แต่ผู้ผลิตแต่ละแต่ราย และแตกต่างไปตามเทคโนโลยี เพราะ เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างเมนบอร์ดแบบ ATX, Micro ATX, AT ทำให้ตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์ การวางส่วนประกอบต่างๆ การทำงานต่างของเมนบอร์ดแตกต่างกันออกไป

ประเภทของเมนบอร์ด

แบ่งตามลักษณะโครงสร้าง ได้ 4 แบบ

1. บอร์ดแบบ AT ลักษณะโครงสร้าง

- สี่เหลี่ยมผืนผ้า

- ขั้วรับไฟมีเพียง 12 ขา

- ใช้สวิทซ์เป็นตัวควบคุม

- ไม่สามารถปิดเครื่องบนคำสั่งทางคีย์บอร์ด Shutdown ผ่านทางวินโดวส์ไม่ได้

2. บอร์ดแบบ ATX ลักษณะโครงสร้าง

- เป็นเมนบอร์ดมาตรฐานใหม่บริษัท อินเทลเป็นผู้กำหนดขึ้น

- ลักษณะเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มี ความยาวมากกว่าส่วนกว้าง

- มีขนาดเล็กกว่าแบบ AT

- มีการระบายความร้อนที่ดี - มีการกำหนดสีและช่องต่อที่ต่างกัน

- สั่งปิดเครื่องจากวินโดส์ได้เลย

3. บอร์ดแบบ Micro ATX ลักษณะโครงสร้าง

- จำนวนสล็อตมี 3-4 สล็อต

- ลักษณะคล้ายกับบอร์ด

4. บอร์ดแบบ Flex ATX ลักษณะโครงสร้าง

- มีขนาดเล็ก- มีอุปกรณ์ Onboard

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น