วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ชิปเซ็ต (Chipset)

ชิปเซ็ต
จะถือว่าเป็นส่วนสำคัญของเมนบอร์ดอีกตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ชิปเซ็ตจะเป็นตัว คอยเชื่อม ความสัมพันธ์ระหว่างอุปกรณ์กับด้านความเร็วสูงกับด้านความเร็วที่รองลงไป ให้ติดต่อสื่อสารกันอย่างสัมพันกัน เพราะความ สามารถต่าง ๆ ที่เมนบอร์ดมีนั้นส่วนใหญ่ชิปเซ็ตจะเป็นตัวกำหนดจัดการไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการกำหนดความถี่ ให้แก่ระบบบัสทั้งระบบ หรือจะเป็นการจำกัดสิทธิในการให้ใช้ CPU ได้ของยี่ห้อใดบ้างหรือให้รองรับหน่วย ความจำประเภทใด , กำหนดให้เมนบอร์ดนั้นต้องมี Slot แบบใดบ้าง และอีกหลาย ๆคุณสมบัติด้วยกันที่มีอยู่ใน ตัวของชิปเซ็ต
ชิปเซ็ต
ชิปเซ็ตก็เป็นชิปสำหรับควบคุมการทำงานต่างๆ ของเมนบอร์ด เช่น ควบคุมระบบบัสของซีพียู หน่วยความจำ ระบบบัสของสล็อต รวมถึงการไหลเวียนของข้อมูลจากพอร์ตต่างๆ โดยชิปเซ็ตหลักๆ จะแบ่งเป็น Northbridge และ Southbridge แต่ละตัวจะแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างชัดเจน สังเกตจากเมนบอร์ดจะมีชิปเซ็ตติดตั้งอยู่ 2 ที่ด้วยกัน แต่เมนบอร์ดบางรุ่นก็ติดตั้งชิปเซ็ตมาตัวเดียว หรือเราเรียกกันว่า Single Chip โดยจะทำหน้าที่เป็นทั้ง Northbridge และ Southbridge ซึ่งส่วนใหญ่ออกแบบมาใช้กับเมนบอร์ดที่มีขนาดเล็กประเภท FlexATX หรือ MicroATX
โครงสร้างของชิปเซ็ตพอจะแยกเป็นได้ 2 โครงสร้างใหญ่ ๆ คือ
1.North Bridge และ South Bridge
**ชิปเซต North Bridge
เป็นชิปเซตหลักที่มีควบคุมสำคัญที่สุด มีหน้าที่ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลของพีซียูและแรมตลอดจนสล็อตที่ใช้กับการ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ซึ่งทำงานด้วยความเร็วสูง ปกติชิปเซต North Bridge จะถูกปิดด้วยแผงระบายความร้อน หรือบางตัวที่มีการ์ดแสดงผลอยู่ภายในก็อาจจะต้องติดตั้งพัดลม/เพิ่มเติมด

North Bridge
---ชิปเซตสำหรับซีพียูของ Intel
ไม่มีชิปเซตสำหรับซีพียูจากบริษัท Intel ยี่ห้อใดที่มีคุณภาพดีไปกว่าชิปเซตของ Intel เอง เนื่องจากได้รับการยอมรับว่าเป็นชิปเซตที่มีประสิทธิภาพสูงสุด จุดที่ผู้ใช้ควรระวังคือ การใช้งานร่วมกับซีพียู Core 2 duo เพราะมีการเปลี่ยนแปลงรุ่นของชิปเซตและออกแบบเมนบอร์ดใหม่ทั้งหมด
---ชิปเซตสำหรับซีพียูของ AMD
ตลาดของชิปเซต North Bridge สำหรับซีพียูจากบริษัท AMD ถูกครอบตรองจาก nVidia กว่าครึ่งเนื่องจากเป็นชิปเซตที่รองรับเทคโนโลยีอนาคตได้สมบูรณ์ ทั้งยังให้ประสิทธิภาพในการทำงานเป็นอย่างดี การเลือกชิปเซตของซีพียู AMD จะเน้นที่การสนับสนุนอุปกรณ์ของตัวชิปเซตมากกว่า เพราะวงจรควบคุมหน่วยความจำซึ่งเป็นส่วนสำคัญต่อประสิทธิภาพได้ถูกรวมไว้ในตัวซีพียูแล้ว
**ชิปเซต South Bridge
ชิปเซต South Bridge มีขนาดเล็กกว่า North Bridge ทำหน้าที่ควบคุมสล็อตของการ์ดอื่นๆ ควบคุมดิสก์ไดรว์ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ด เมาส์ หรือพอร์ตต่างๆ ที่อยู่ด้านหลังเครื่อง การที่จะรู้ได้ว่าเครื่องของเราจะสามารถต่อพ่วงกับอุปกรณ์ใดได้บ้าสามารถดูได้จากเบอร์ของชิปเซต South Bridge ชิปเซต South Bridge ส่วนมากจะใช้กับชิปเซตจาก Intel เพราะโครงสร้างของชิปเซต South Bridge สำหรับซีพียูของ AMD นิยมทำแบบ Single Chip คือเป็นชิปเซตตัวเดียวโดยไม่ต้องมีชิปเซต South Bridge อีกต่อไป

South Bridge

2.Accelerated Hub Architecture

โครงสร้างของชิปเซ็ตแบบ Accelerated Hub Architectureนี้จะมีโครงสร้างที่ คล้ายกับ แบบ North Bridge , South Bridge แต่จะมี Firmware Hub ที่เป็นส่วน ที่ใช้เป็นระบบรักษาความปลอดภัย(Security) ให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มเข้ามาด้วย ชิปเซ็ตที่มีโครงสร้างแบบนี้จะมีระบบบัสแบบ PCI ที่เชื่อมต่อระหว่าง Graphics กับ I/O Controller นั้น ที่มีความกว้างของบัส 32 บิต ความเร็ว 66 MHz ทำให้มีความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันถึง 264 MB./Sec ซึ่งถือว่าเร็วกว่าแบบ North Bridge , South Bridge เป็นเท่าตัวเลยทีเดียว













วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552




เมนบอร์ด (mainboard)

หรือที่เรียกอีกชื่อว่า มาเธอร์บอร์ด (Motherboard) คือ แผงวงจรขนาดใหญ่ที่รวบรวมเอาส่วนประกอบหลัก ๆ ที่สำคัญของคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน มีลักษณะลักษณะเป็นแผ่น circuit board รูปร่างสีเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเต็มไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน ดังนั้นเมนบอร์ดจึงเป็นเสมือนกับศูนย์กลางในการทำงานและเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ฟล็อปปี้ดิสก์ การ์ดต่าง ๆ

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด

1.ซ็อกเก็ตซีพียู (CPU Socket) เป็นช่องสำหรับใส่ซีพียู มีความแตกต่างไปตามรุ่นของซีพียูที่สามารถติดตั้งได้ ดังนั้นเราจึงต้องเลือกเมนบอร์ดให้เหมาะกับซีพียูที่จะใช้ ซ็อกเก็ตซีพียูที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีอยู่4แบบ คือ Socket 478 และ LGA 775 สำหรับ Pentium 4, ซีพียู Athlon 64 (FX) จะใช้ Socket 754 และ Socket 939 และล่าสุดกับ Socket AM2+ ซึ่งจะรองรับแรม DDR2 ของซีพียูจาก AMD

2.ชิพเซต (Chipset) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดที่อยู่บนเมนบอร์ด โดยชิพเซตจะเป็นตัวกำหนดเมนบอร์ดว่าจะให้ทำงานร่วมกับซีพียูตัวไหน เพราะชิพเซตได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานกับซีพียูตัวนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชิพเซตบนเมนบอร์ดจะมีอยู่ 2 ตัว คือ ชิพเซต North Bridge และชิพเซต South Bridgeชิพเซต North Bridge จะทำหน้าที่ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลของซีพียูและแรม ตลอดจนสล๊อตของการ์ดแสดงผล ส่วนชิพเซต South Bridge มีขนาดเล็กกว่า ชิพเซต North Bridge มีหน้าที่ควบคุมสล๊อตของการ์ด PCI, ดิสก์ไดรว์ต่างๆ รวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ด เมาส์ หรือพอร์ตต่างๆที่อยู่ด้านหลังเครื่อง

3.ซ็อกเก็ตแรม (RAM Socket)เป็นช่องสำหรับใส่แรม ปัจจุบันมีใช้อยู่ 2 แบบ คือ DDR2 และ DDR3 ซึ่งไม่สามารถใช้ร่วมกันได้เนื่องจากมีร่องบากต่างกัน

4.สล๊อตของการ์ดแสดงผล (Graphic Card Slot) ไว้สำหรับใส่การ์ดแสดงผล (Graphic Card) โดยมีสล๊อตอยู่ 2 แบบ คือ สล๊อต AGP (Accelerate Graphic Port) และ สล๊อต PCI Express x16 โดยทั้งสองแบบจะไม่เหมือนกัน ปัจจุบันบอร์ดรุ่นใหม่นิยมใช้ PCI Express x16 กันหมดแล้ว เนื่องจากมีความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลระดับ 4GB/s ซึ่งสูงกว่าแบบ AGP ถึง2เท่า

5.สล๊อต PCI (Peripheral Component Interconnect)ทำงานที่ความเร็ว 33MHz และ ส่งข้อมูลที่ 32 บิตทำให้มีอัตราการรับส่งข้อมูลที่ 133 MB/s สล๊อต PCI มีไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น การ์ดเสียง การ์ดโมเด็ม หรือการ์ดแลน เป็นต้น

6.หัวต่อไดรว์ต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ หัวต่อสำหรับฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ (Floppy Disk Drive) และ หัวต่อสำหรับฮาร์ดดิสก์และไดรว์ซีดี/ดีวีดี หัวต่อฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์มีจำนวนขา 34 ขา (ขาที่ 5 ถูกหักออกเพื่อป้องกันการเสียบผิด) ใช้เชื่อมต่อกับไดรว์ฟล็อปปี้ดิสก์ ส่วนหัวต่อฮาร์ดดิสก์และไดรว์ซีดี/ดีวีดี ปัจจุบันนิยมใช้อยู่2แบบคือ*หัวต่อแบบ IDE เหมือนกับฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ แต่มันจำนวนเข็ม 40 ขา (ขาที่ 20 ถูกหักออกเพื่อป้องกันการเสียบผิด) ปกติเมนบอร์ดจะมีหัวต่อแบบ IDE มาให้ 2 ช่องคือ IDE1 จะเรียกว่า Primary และ IDE2 เรียกว่า Secondaryแต่ละหัวต่อจะเชื่อมอุปกรณ์ได้ 2 ตัวขนานกันในสายแพเส้นเดียวกัน จึงสามารถต่ออุปกรณ์ได้ทั้งหมด 4 ตัว การต่อแบบขนานนี้ ทำให้อุปกรณ์ที่ต่อบนสายแพเส้นเดียวกัน หน่วงการทำงานของกันและกันได้ การเชื่อมต่อแบบ IDE นี้อาจจะเรียกว่า “เอทีเอแบบขนาน (Parallel ATA)”*หัวต่อแบบ Serial ATA (SATA) มีขนาดเล็กกว่าแบบ IDE มาก ใช้การเชื่อมต่อแบบอนุกรม การเชื่อมต่อแบบ Serial ATA (SATA) ทำให้ไม่เกิดการหน่วงกันของอุปกรณ์แบบเดียวกับ IDE ทั้งยังมีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลที่สูงกว่า คือ 150 MB/s และชิพเซต nForce 4 Ultra/SLi เป็นชิพเซตรุ่นแรกที่สนับสนุน Serial ATA Mode 2 ที่ 300 MB/s

7.หัวต่อแหล่งจ่ายไฟ รูปแบบของหัวต่อแหล่งจ่ายไฟมีอยู่ 2 แบบ คือ หัวต่อ ATX เป็นหัวต่อหลักที่เมนบอร์ดทุกรุ่นจะต้องมี โดยเป็นชุดจ่ายไฟหลักสำหรับเมนบอร์ด เดิมหัวต่อแบบ ATX เป็นแบบ 20 ช่อง (2 แถว แถวละ 10 ช่อง) แต่ปัจจุบันหัวต่อแบบ ATX ที่ใช้กับเมนบอร์ดรุ่นใหม่จะเป็นแบบ 24 ช่อง (2 แถว แถวละ 12 ช่อง) โดยเพิ่มตำแหน่งของการจ่ายไฟให้มากขึ้นหัวต่อแบบที่ 2 เรียกว่า ATX 12V หัวต่อแบบนี้จะจ่ายแรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์เพิ่มขึ้นมาอีก 1 จุด ซึ่งเมนบอร์ดทุกรุ่นในปัจจุบันจะต้องใช้ ATX 12V เพิ่มจากหัวต่อ ATX หลักที่ต้องมีอยู่แล้ว และแหล่งจ่ายไฟที่จำหน่ายในปัจจุบันจะมีหัวต่อ ATX 12V นี้มาให้อยู่แล้วเช่นกัน

8.ชิพรอมไบออส (ROM BIOS)เป็นหน่วยความจำแบบรอม (ROM - Read Only Memory) ที่บรรจุโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องเอาไว้ โดยไบออส (BIOS - Basic Input Output System) จะทำหน้าที่ตรวจอุปกรณ์ต่างๆเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะได้เริ่มกระบวนการเปิดเครื่องได้อย่างถูกต้องหากไบออสตรวจพบความผิดปกติ ก็จะส่งเสียงเป็นรหัสออกทางลำโพง ทำให้เราได้รู้ว่าได้เกิดปัญหาขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว วงจรชิพไบออสจะต้องมีแบตเตอรี่ไว้คอยเก็บค่าของไบออส เพื่อไม่ให้ข้อมูลศูนย์หายไปเมื่อปิดเครื่อง และใช้จ่ายไฟให้กับวงจรนาฬิกาในไบออสเพื่อให้นาฬิกาของเครื่องเดินตามปกติอายุการใช้งานของแบตเตอรี้ปกติจะอยู่ที่ 3-5 ปีขึ้นไป เมื่อใดที่เปิดเครื่องขึ้นมาแล้วหน้าจอแสดงคำว่า “Invalid CMOS Check Sum Error” แสดงว่าแบตเตอรี่กำลังจะหมด ให้เปลี่ยนแบตเตอรี่เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้ทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา

9.หัวต่อสายสวิตช์ควบคุม ช่องเสียบสายสวิตช์สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์คือ ตำแหน่งของสายสวิตช์จากด้านหน้าเคส เพื่อใช้ควบคุมการเปิด/ปิดเครื่อง และรีสตาร์ทเครื่อง รวมถึงไฟแสดงสถานะการทำงานของเครื่องและฮาร์ดดิสก์ด้วย

10.พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ เป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ โดยลักษณะของพอร์ตจะแตกต่างตามอุปกรณ์

จำนวนชนิดของเมนบอร์ดขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่เราใช้ในการแบ่ง ดังนี้

1. แบ่งตามโครงสร้างของเมนบอร์ด หรือ ฟอร์มแฟกเตอร์ (Form Factor) ซึ่งเป็นคำที่ใช้กำหนดลักษณะทางกายภาพของเมนบอร์ดต่าง ๆ จากหลายยี่ห้อที่ทำออกมาจำหน่ายกันในท้องตลาด ฟอร์มแฟคเตอร์เดียวกัน จะมีรูปแบบที่ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น ในการวางหรือจัดตำแหน่งของช่องเสียบ (Port) ต่าง ๆ ขนาดความกว้าง ยาวของตัวเมนบอร์ด ฯลฯ หากแบ่งตามฟอร์มแฟกเตอร์แล้ว ชนิดของเมนบอร์ดจะมี 6 ชนิด ได้แก่ AT, Baby AT, ATX, Micro ATX, Flex ATX, LPX, NLX แต่ว่าในปัจจุบันฟอร์มแฟคเตอร์ที่เป็นแบบ ATไม่ผลิตแล้ว เมนบอร์ดที่มีในตลาดมากจะเป็นแบบ ATX คะ2. แบ่งตามลักษณะการอินเตอร์เฟซ (Interface) ของซีพียู ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น

2 กลุ่มใหญ่ คือ แบบสล็อต กับ แบบซ็อกเก็ต เมนบอร์ดที่ใช้การเชื่อต่อแบบสล็อตในปัจจุบันหาซื้อได้ยากแล้ว เนื่องจากซีพียูแบบตลับที่ใช้เสียบกับสล็อตเลิกผลิตแล้ว คงมีเพียงที่ผลิตออกมารองรับซีพียูเดิม ส่วนเมนบอร์ดแบบซ็อกเก็ตในปัจจุบันมีออกมาแข่งขันกันจำนวนมาก เช่น Socket A, Socket 478 เป็นต้นคะ

การเลือกซื้อเมนบอร์ด

การเลือกซื้อเมนบอร์ดให้ตรงตามความต้องการหลังจากที่เราได้ทำการวางแผนในการเลือกซื้ออุปกรณ์อื่นๆ ได้หมดแล้วคราวนี้ก็มาถือการเลือกซื้อเมนบอร์ดที่จะนำเอาอุปกรณ์เหล่านั้นมารวมกัน

1. รองรับกับอุปกรณ์และเทคโนโลยีของอุปกรณ์

ไม่ว่าคุณกำลังจะซื้อเมนบอร์ดใหม่เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ทั้งชุดหรือซื้อเพื่อการอัปเกรดคอมพิวเตอร์ตัวเก่าของคุณ สิ่งแรกก็คือคุณต้องดูก่อนว่าเมนบอร์ดที่สามารถรองรับกับอุปกรณ์ที่คุณใช้อยู่ หรือกำลังจะใช้นั้นมีรุ่นใดบ้างอย่างแรกก็คงหนีไม่พ้นส่วนของอินเทอร์เฟซ หรือ Socket ที่ใช้สำหรับใส่ซีพียู ซึ่งเป็นสิ่งแรกทีต้องมองก่อนว่าซีพียูที่คุณใช้นั้นใช้อินเทอร์เฟซแบบใด ถ้าเป็น Intel Pentium หรือ Celeron รุ่นใหม่ๆ เดี่ยวนี้จะใช้อินเทอร์เฟซที่เรียกว่า LGA 775 ซึ่งเป็นอินเทอร์เฟซแบบใหม่ ที่รองรับซีพียูถึงระดับ Dual Core (ถ้าชิปเซตรองรับ) ส่วนถ้าเป็นรุ่นเก่าหน่อยก็จะใช้ Socket 478 ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็เริ่มหายไปจากท้องตลาดที่ละน้อยแล้ว ส่วนผู้ที่จะใช้ซีพียู AMD นั้นก็จะมี 2 ทางเลือกคือ Socket 939 สำหรับซีพียูระดับสูงและระดับกลางที่รองรับซีพียู Dual Core ได้ และ Socket 754 สำหรับซีพียูระดับล่าง ที่มีข้อจำกัดหลายๆ อย่างที่ต่างจาก Socket 939 อยู่เหมือนกัน ส่วน Socket A นั้นแม้ว่าจะยังพอหาซื้อได้ แต่ไม่แนะนำเพราะมันเก่ามากและไม่คุ้มกับการซื้อมาใช้แล้วครับอย่างที่สองคือเรื่องของหน่วยความจำ ซึ่งถ้าคุณต้องการใช้งานหน่วยความจำรุ่นใหม่ที่เป็น DDRII ล่ะก็คุณต้องเลือกเมนบอร์ดที่ใช้ชิปเซตรุ่นใหม่ๆ และจะมีเฉพาะกับเมนบอร์ดที่รองรับซีพียู Intel เท่านั้นด้วย โดยช่องใส่ DDRII จะมีขาที่ถี่กว่า และไม่สามารถใช้งานร่วมกับ DDR ธรรมดาได้

2. ชิปเซต

เป็นที่แน่นอนว่าชิปเซตเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญบนเมนบอร์ด และเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติเกือบทั้งหมดของตัวเมนบอร์ดเลย ดังนั้นมันจึงมีความสำคัญและส่งผลต่อประสิทธิภาพและความเสถียรค่อนข้างมากเลยทีเดียว หากคุณใช้ซีพียู Intel และมีงบประมาณที่มาก ก็ควรเล่นชิปเซตในระดับ High-End ทั้งของ Intel อย่าง Intel 955X หรือ Intel 975X ไปเลย หรือจะเป็นของ nVidia nForce4 SLI ก็น่าสนใจเพราะสามารถรองรับ SLI ได้ด้วย ส่วนผู้ที่ต้องการใช้ซีพียู AMD ก็คงมีแต่ชิปเซต nForce4 เท่านั้นที่เป็นที่พึ่งพาได้ ถ้าคุณต้องการเมนบอร์ดระดับกลางคือมีงบประมาณที่ไม่จำกัดมากจนเกินไปนักก็ตัวเลือกที่เหมาะสมก็ยังคงอยู่ที่ชิปเซต Intel และ nVidia อยู่ดี โดยถ้าคุณใช้ซีพียู Intel ล่ะก็ ชิปเซตที่เหมาะสมน่าจะเป็นชิปเซตในตระกูล Intel 915 หรือ Intel 945 ครับ ส่วนผู้ใช้ซีพียู AMD ก็จะมีตัวเลือกเป็น nForce3 และ nForce4 ครับ โดยมีให้เลือกหลายรุ่นหลายระดับ นอกจากนี้ก็อาจจะลองชิปเซต ATI Xpress200 ซึ่งเป็นชิปเซตตัวใหม่ที่ประสิทธิภาพพอใช้ก็ถือว่าโอเคครับ สุดท้ายสำหรับผู้ที่มีงบประมาณประหยัดจริงๆ และไม่ซีเรียสเรื่องความเสถียรมากนัก ทางเลือกของคุณก็คือชิปเซตจาก SIS และ VIA ซึ่งสองค่ายนี้ค่อนข้างจะมีประสิทธิภาพต่ำ หมายถึงมีความสามารถในการรองรับเทคโนโลยีต่างๆ ได้น้อยกว่าของ Intel และ nVidia รวมถึงเรื่องความเสถียรด้วย มันจึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีงบประมาณประหยัดจริงๆ เท่านั้น

3. อุปกรณ์ที่ติดมากับเมนบอร์ด

เมนบอร์ดในปัจจุบันนั้นค่อนข้างต่างจากเมนบอร์ดสมัยก่อนมาก เพราะเดี๋ยวนี้อุปกรณ์แทบทุกอย่าง ถูกนำมาใส่รวมไว้บนเมนบอร์ดเกือบหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นซาวนด์การ์ด, แลนการ์ด, RAID หรือบางรุ่นก็มีกราฟิกชิปติดตั้งมาให้ด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้ใช้ต้องดูให้ดีๆ ด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์มาใส่เพิ่มเองให้เสียตัง- Sound ว่าด้วยเรื่องของซาวนด์การ์ดที่ติดมากับบอร์ดหรือ Sound onboard นั่นเอง เมื่อก่อนจัดได้ว่าเป็นซาวนด์การ์ดแก้ขัด คือขอเพียงแค่มีเสียง ฟังเพลงได้นิดๆ หน่อยๆ ก็โอเคแล้ว เสียงไม่ต้องเลิศเลอมากนัก แต่ปัจจุบันซาวนด์ออนบอร์ดได้พัฒนาจนมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ซี่งในตอนนี้เมนบอร์ดทุกตัวอย่างน้อยๆ ก็ต้องมีระบบเสียง 5.1 Channel ติดมาให้อยู่แล้ว ทำให้คุณพร้อมสำหรับดูหนัง DVD ได้ทันที แต่ถ้าต้องการประสิทธิภาพมากกว่านั้นก็ยังมีแบบ 7.1 Channel รวมถึงระบบเสียงแบบ High Definition ที่ให้เสียงดียิ่งขึ้นอีกด้วย- Network ระบบเครือข่ายเดี๋ยวนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นมากขึ้น เพราะว่าในบ้านของคุณอาจจะมีคอมพิวเตอร์มากกว่า 1 เครื่อง นอกจากนี้การเชื่อมด้วย High-Speed Internet ในบ้างครั้งก็ใช้การ์ดแลนในการเชื่อมต่อ ดังนั้นเมนบอร์ดแทบจะทุกรุ่นจึงมีการติดตั้งการ์ดแลนมาด้วย แต่จะเป็น 10/100 ธรรมดา หรือจะเป็นระดับ Gigabit ก็ขึ้นอยู่กับรุ่นของเมนบอร์ด ซึ่งการใช้งานจริงๆ แล้ว 10/100 ก็เพียงพอต่อความต้องการเพราะเครือข่ายระดับ Gigabit นั้นก็จำเป็นจะต้องมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับ Gigabit ด้วยเช่นกัน

4. ยี่ห้อ

มาถึงส่วนที่หลายคนรอคอย เพราะเคยได้ยินคนเคยเถียงกันเรื่องเมนบอร์ดยี่ห้อไหนดีที่สุด จริงๆ แล้วเมนบอร์ดแต่ละยี่ห้อต่างก็มีข้อดีและจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของประสิทธิภาพ การออกแบบที่สวยงาม เทคโนโลยีหรือลูกเล่นเสริม รวมถึงเรื่องของของแถมด้วย ดังนั้นจึงไม่มียี่ห้อไหนที่เรียกว่าดีที่สุด หากคุณต้องการเมนบอร์ดที่เหมาะกับคุณสักตัว อย่างแรกก็คือคุณต้องดูรายละเอียดของมันเสียก่อนว่ามีความเหมาะสมกับความต้องการข้างต้นที่กล่าวมาแล้วหรือเปล่า ซึ่งถ้ามีเมนบอร์ดหลายตัวที่เข้ามารอบมาให้คุณตัดสิน คราวนี้ค่อยมาดูรายละเอียดกันในเรื่องของการออกแบบ เพราะบางคนชอบเมนบอร์ดสวยๆ บางคนชอบเมนบอร์ดที่สามารถปรับแต่งได้เยอะ บางคนชอบเมนบอร์ดที่มีลูกเล่นแปลกๆ ให้ลอง ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคนไปครับยี่ห้อเมนบอร์ดในท้องตลาดก็จะมีอยู่กัน 2 ระดับ คือยี่ห้อที่ผลิตเมนบอร์ดในระดับกลางถึงสูงอย่างที่เราคุ้นๆ หูกันไม่ว่าจะเป็น Asus, MSI, Gigabyte, DFI, Abit และอีกหลายๆ ยี่ห้อ ซึ่งเมนบอร์ดเหล่านี้จะมีการออกแบบที่สวยงาม มีอุปกรณ์แถมมาให้ครบเครื่อง และการทำคู่มือ หรือชิ้นงานของตัวเมนบอร์ดก็จะดูพิถีพิถันกว่า ส่วนยี่ห้อเมนบอร์ดอีกแบบคือแบบ Low-Cost ซึ่งเป็นเมนบอร์ดราคาถูกอย่างยี่ห้อ ASRock, ECS และ Axper น้องใหม่ที่แตกออกมาจาก Gigabyte โดยเมนบอร์ดเหล่านี้ก็สามารถทำงานได้เช่นเดียวกัน แต่ที่มีราคาถูกเพราะตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็นทิ้ง ทั้งเรื่องของแถม การทำคู่มือ ชิ้นงานของตัวเมนบอร์ดที่ได้รับการออกแบบมาอย่างง่ายๆ นอกจากนี้ยี่ห้อเหล่านี้ส่วนมากจะหลีกเลี่ยงที่จะพัฒนาเมนบอร์ดด้วยชิปเซตระดับสูงๆ ซึ่งทำให้มีราคาแพงนั่นเอง

5. การรับประกันเมนบอร์ด

ถือว่าเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องของการใช้งานแต่อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าเมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อการทำงานของอุปกรณ์ทุกชนิด บนเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อเมนบอร์ดเกิดการเสียหายขึ้นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อก็หยุดการทำงานไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์อื่นเข้ากับเมนบอร์ดควรให้ความ ระมัดระวังกันสักนิด สาเหตุเหตุหลักของการทำให้เมนบอร์ดเสียหายนั้นเกิดขึ้นได้หลายกรณีแต่ที่เห็นกันบ่อยมากนั้นคงหนีไม่พ้นการที่ผู้ใช้ทำการดัดแปลงการ ทำงานของเมนบอร์ดในส่วนต่างๆ และการโอเวอร์คล็อก จนทำให้เมนบอร์ดเสียหายเมื่อเกิดเหตุการณ์ในกรณีเช่นนี้แล้วทางผู้ผลิตถือ ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจาก ผู้บริโภคไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากขั้นตอนการผลิต รับรองรองได้ว่ากระปุกออมสินของคุณต้องถูกทุบเพื่อนำมาซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่แน่นอน การรับประกัน เมนบอร์ดส่วนใหญ่จะรับประกันผลิตภัณฑ์อยู่ที่ 3 ปีเท่านั้น

6. งบประมาณ

กลับมาพูดเรื่องงบประมาณปิดท้ายอีกเช่นเคย สำหรับผู้ที่กำลังมองหาเมนบอร์ดอยู่และอยากที่จะทราบราคาพอคราวๆ ของเมนบอร์ด เพื่อจะได้ตัดสินใจว่าจะใช้เมนบอร์ดระดับใด เมนบอร์ดระดับ Low Cost สำหรับผู้ที่ต้องการความประหยัดจะมีราคาตั้งแต่ 1 พันกว่าบาทเรื่อยไปแต่ไม่เกิน 3 พัน ซึ่งจะมีทั้งรุ่นที่ใช้ชิปเซตดีๆ อยู่บ้าง แต่สำหรับผู้ที่ใช้เมนบอร์ดระดับนี้ต้องทำใจครับว่าของแถมอาจจะไม่ครบเครื่อง และลูกเล่นจะมีไม่ค่อยมากครับเมนบอร์ดระดับกลางนั้นจะมีราคาอยู่ที่ 3 พันบาทขึ้นไปจนถึงราวๆ 5 พันกว่าบาทครับ ซึ่งเป็นราคาที่คุณจะได้ชิปเซตที่ทำงานได้ดีอย่าง Intel และ nVidia ได้ นอกจากนี้ลูกเล่นและคุณสมบัติการทำงานของเมนบอร์ดก็ยังถูกใส่มาให้เพียบอีกด้วย โดยสวยใหญ่จะเป็นลูกเล่นมาตรฐานที่ติดมากับชิปเซตอยู่แล้ว และอาจจะมีการใส่ Controller เพิ่มเติมอีกนิดหน่อยเท่านั้น ส่วนเมนบอร์ดระดับ Top หรือ High-End นี้จะมีราคาตั้งแต่ 6 พันบาทขึ้นไปจนทะลุขึ้นไปหลักหมื่นเลยก็มี ความพิเศษของเมนบอร์ดในระดับนี้คือใช้ชิปเซตคุณภาพสูง มีลูกเล่นพร้อมหน้าพร้อมตา อย่าง SLI หรือ Crossfire นอกจากนี้ของแถมหรือความสามารถพิเศษก็ยังใส่มากันแบบใช้ไม่หมดเช่น Dual Gigabit LAN, SATA 8 พอร์ตพร้อม RAID 5 เมนบอร์ดบางรุ่นยังมี Bluetooth หรือ Wi-Fi ติดมาให้อีกด้วย ซึ่งถ้าคุณไม่จำเป็นต้องใช้สิ่งเหล่านี้ (ส่วนใหญ่ก็คงไม่ต้องใช้) ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อเมนบอร์ดระดับนี้ไปใช้งานก็ได้

หน้าที่ของเมนบอร์ด

แผงวงจรหลักก็เหมือนกับพื้นที่ชุมชน เส้นทางการคมนาคมศูนย์ควบคุมการจราจร โดยมีกฎหมายว่าด้วยการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เป็นตัวบทกฎหมายหลักและถูกสร้างขึ้นด้วยทฤษฎีการทำงานของคอมพิวเตอร์เราจะแนะนำส่วนประกอบแต่ละส่วนของเมนบอร์ด ว่าประกอบด้วยส่วนประกอบใดบ้างเมนบอร์ด ถึงแม้จะทำงานเหมือนกัน หลักการทำงานเดียวกัน แต่หน้าตาและส่วนประกอบของเมนบอร์ด ถึงแม้จะทำงานเหมือนกัน หลักการทำงานเดียวกัน แต่หน้าตาและส่วนประกอบของเมนบอร์ดนั้นอาจจะมีหลากหลายแตกต่างไปตาม แต่ผู้ผลิตแต่ละแต่ราย และแตกต่างไปตามเทคโนโลยี เพราะ เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างเมนบอร์ดแบบ ATX, Micro ATX, AT ทำให้ตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์ การวางส่วนประกอบต่างๆ การทำงานต่างของเมนบอร์ดแตกต่างกันออกไป

ประเภทของเมนบอร์ด

แบ่งตามลักษณะโครงสร้าง ได้ 4 แบบ

1. บอร์ดแบบ AT ลักษณะโครงสร้าง

- สี่เหลี่ยมผืนผ้า

- ขั้วรับไฟมีเพียง 12 ขา

- ใช้สวิทซ์เป็นตัวควบคุม

- ไม่สามารถปิดเครื่องบนคำสั่งทางคีย์บอร์ด Shutdown ผ่านทางวินโดวส์ไม่ได้

2. บอร์ดแบบ ATX ลักษณะโครงสร้าง

- เป็นเมนบอร์ดมาตรฐานใหม่บริษัท อินเทลเป็นผู้กำหนดขึ้น

- ลักษณะเป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มี ความยาวมากกว่าส่วนกว้าง

- มีขนาดเล็กกว่าแบบ AT

- มีการระบายความร้อนที่ดี - มีการกำหนดสีและช่องต่อที่ต่างกัน

- สั่งปิดเครื่องจากวินโดส์ได้เลย

3. บอร์ดแบบ Micro ATX ลักษณะโครงสร้าง

- จำนวนสล็อตมี 3-4 สล็อต

- ลักษณะคล้ายกับบอร์ด

4. บอร์ดแบบ Flex ATX ลักษณะโครงสร้าง

- มีขนาดเล็ก- มีอุปกรณ์ Onboard

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แรม (RAM)



ความหมายแรม

RAM ย่อมาจาก (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำหลักประเภทไม่ถาวร คือ สามารถบันทึกคำสั่งและข้อมูลไปเก็บไว้ในแรมได้ แต่เมื่อใดที่ไฟฟ้าดับหรือกระพริบ คำสั่งและข้อมูลที่เก็บไว้จะหายไปในทันที หน่วยความจำชนิดนี้ใช้สำหรับ ทำงานทั่วไป ดังนั้นจะต้องมีขนาดใหญ่มากพอ ถ้าเป็นเครื่องมินิคอมพิวเตอร์หน่วยความจำแรมอาจจะต้องมีขนาดใหญ่มากถึงขนาด 32 เมกะไบต์ แต่ถ้าเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันอาจจะต้องมีขนาด 4เมกะไบต์เป็นอย่างต่ำ หน่วยความจำแรม ทำหน้าที่ในการเก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input ) หรือ การนำออกข้อมูล ( Output )

หน่วยความจำหลัก

หรือหน่วยความจำภายใน(Internai Storage Device) เป็นหน่วยความจำที่สามารถ เข้าถึง ได้โดยตรงมีการเร็วในการเข้าถึง ข้อมูลสูง แบ่งออกเป็น 2ประเภท คือ) หน่วยความจำถาวร เป็นหน่วยความ จำแบบลบเลือนไม่ได้(Non volatile)ข้อมูลไม่สูญหาย ถึงไม่มีกระแสไฟฟ้า หน่วยความจำส่วนนี้ติดตั้งมา พร้อม กับระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และสามารถอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว เช่น ROM (Read Only Memory) บัตรเจาะรู หน่วยความจำชั่วคราว เป็นหน่วยความจำที่ลบเลือนได้(Volatile) ข้อมูลจะสูญหาย ถ้าไม่มี กระแสไฟฟ้า เช่น RAM (Random Only Memory : ซึ่งเป็นหน่วยความจำส่วนที่เราใช้งานในการปฏิบัติการ ของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ)

แบ่งเป็น2 ชนิดคือ หน่วยความจำถาวร และหน่วยความจำหลัก

หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM:RandomAccessMemory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลและชุดคำสั่งจะหายไปทุกครั้งที่เราปิดเครื่อง
หน่วยความจำถาวรหรือ หน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ Hard Disk ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อเปิดเครื่อง

หน่วยความจำสำรอง

หรือ หน่วยความจำภายนอก(External Storage Device) เป็นหน่วยความจำที่ข้อมูล ไม่ สูญหายถึงไม่มีกระแสไฟฟ้า เป็นหน่วยที่ใช้สำรองข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก และสามารถนำข้อมูลเข้าสู่ หน่วย ความจำหลัก เพื่อทำการประมวลผลได้ ในการปฏิบัติการกับหน่วยความจำนี้ ต้องเสียเวลามาก เพราะเป็นการ ทำงานแบบจักรกล(Machhin) ดังนั้นการเลือกใช้หน่วยความจำสำรองต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ ก) เวลาที่ใช้ใน การเข้าถึงข้อมูล (Acess time) หมายถึง กระบวนการในการค้นหาข้อมูล การอ่านข้อมูล การเขียนข้อมูล บนหน่วย จำสำรองนั้นดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลต้งเลือกหน่วยความจำสำรองที่ใช้เวลา ในการเข้า ถึงข้อมูลน้อยทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการเข้าถึงข้อมูลโดยระบบคอมพิวเตอร์ วิธีการการเข้าถึงข้อมูลบนหน่วย ความจำ สำรองสามารถแบ่งออกได้ 2 วิธี คือ-การเข้าถึงแบบลำดับ(Sequential Access)- การเข้าถึงข้อมูลโดนตรงหรือ แบบสุ่ม(Random Access/Direct Access) เวลาที่ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูล(Transfer Data) หมายถึงกระบวน การในการถ่ายโอนข้อมูลจากหน่วยความจำสำรอง ไปเก็บที่หน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ตามสายส่งข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์(ก) หน่วยความจำสำรองที่มีการเข้าถึงแบบลำดับ(SequentialAccess Storage Device)ในการเข้าถึงข้อมูลต้องทำการเข้าถึงตั้งแต่ตำแหน่งเริ่มต้นของหน่วยความจำสำรอง ไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบข้อมูลที่ต้องการ และทำการเข้าถึงข้อมูลตั้งแต่ต้นแฟ้มข้อมูลไปเรื่อยๆจนกว่าจะสิ้นสุดแฟ้มข้อมูล เพราะเรา ไม่สามารถกำหนดตำแหน่งให้หย่วยความจำสำรองแบบนี้ได้(Non Addressable) ตัวอย่างของหน่วยความ จำสำรองแบบนี้ เช่น เทปแม่เหล็ก(Magnetic Tape),บัตรเจาะรู เป็นต้น(ข) หน่วยความจำสำรองที่มีการเข้าถึง โดยตรงหรือแบบสุ่ม(DirectAccessStorage Device : DASD)การเข้าถึงข้อมูลบนหน่วยความจำสำรองแบบนี้ สามารถเข้าถึงได้โดยตรงเพราะสามารถกำหนดหมายเลข ตำแหน่งให้ข้อมูลบนหน่วยความจำสำรองแบบนี้ได้ ตัวอย่างของหน่วยความจำสำรองแบบนี้ เช่น แผ่นจานแม่เหล็ก(Magnetic Disk)

หลักการทำงานของแรม

หน่วยความจำ(แรม) ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output)โดยเนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
1.Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้า เช่น ข้อมูลที่ได้มา\จากคีย์บอร์ด เป็นต้น โดยข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
2.Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
3.Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออกยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการเช่น จอภาพ เป็นต้น
4.Progrem Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วนนี้ทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้น ๆหน่วยความจำจะจัดอยู่ในลักษณะแถวแนวตั้ง (CAS : Column Addaess Strobe) และแถวแนวนอน(RAS : Row Address Strobe) เป็นโครงสร้างแบบเมทริกซ์ (Matrix) โดยจะมีวงจรควบคุมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงจรในชิปเซต(Chipset)ควบคุมอยู่โดยวงจรเหล่านี้จะส่งสัญญาณกำหนดแถวแนวตั้ง และสัญญาณแถวแนวนอนไปยังหน่วยความจำ เพื่อกำหนดตำแหน่งของข้อมูลในหน่วยความจำที่จะใช้งาน

ประเภทของแรม

เราสามารถแบ่ง แรม ออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.SRAM หรือมาจากคำเต็มว่า Static RAM ซึ่งจะเป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยที่ไม่ต้องมีการรีเฟรชข้อมูล SRAM จะมีความเร็วในการทำงานสูง แต่ในขณะเดียวกัน SRAM ก็จะกินไฟมากและมีราคาแพงกว่า DRAM มาก ดังนั้น เราจึงไม่นิยมนำมาทำเป็นหน่วยความจำหลักค่ะ แต่จะนิยมใช้ SRAM ไปทำเป็นหน่วยความจำแคช หรือ Cache Memory แทน
2.DRAM หรือมาจากคำว่า Dynamic RAM ซึ่งก็จะเป็นหน่วยความจำที่ต้องมีการรีเฟรช ข้อมูลอยู่ตลอดเวลาเลย เพื่อไม่ให้ข้อมูลในหน่วยความจำนั้นสูญหายไป สำหรับการรีเฟรช ( Refresh ) ก็คือข้อมูลที่เก็บอยู่ในหน่วยความจำชนิด DRAM นี้ จะเก็บอยู่ในรูปของประจุไฟฟ้า ซึ่งประจุไฟฟ้านี้จะสูญหายไปถ้าไม่มีการเติมประจุไฟฟ้าตามระยะเวลาที่กำหนดดังนั้นจึงต้องมีวงจรสำหรับการทำรีเฟรชหน่วยความจำชนิด DRAM ค่ะ แต่หน่วยความจำชนิดDRAMก็มีข้อดีของมันเหมือนกันนั่นก็คือมีราคาที่ถูก และสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าด้วย ดังนั้นเราจึงนิยมใช้หน่วยความจำชนิด DRAนี้มาเป็นหน่วยความจำหลักของระบบคอมพิวเตอร์

หน่วยความจำแรมที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

1.DRAM (Dynamic RAM)
เป็นหน่วยความจำที่มีการใช้งานกันมากที่สุดในปัจจุบัน จะมีวงจรคล้ายตัวเก็บประจุเพื่อจัดเก็บแต่ละบิตของข้อมูล ทำให้ต้องมีการย้ำสัญญาณไฟฟ้าเข้าไปก่อนที่จะสูญหาย เรียกว่า การรีเฟรช (Refresh) หน่วยความจำจะมีข้อดีที่ราคาต่ำ ข้อเสียคือมีความเร็วไม่สูงนักเนื่องจากต้องมีการรีเฟรชข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งได้มีการนำเทคนิคต่าง ๆ มาลดเวลาในการเข้าถึงข้อมูล ทำให้เกิด DRAM ชนิดย่อย ๆ เช่น FPM (Fast Page Mode) RAM,EDO (Extended Data Output) RAM,SDRAM (Synchronous DRAM) เป็นต้น หน่วยความจำ DRAM จะมีความเร็วอยู่ระหว่าง
2.SRAM (Static RAM)
เป็นหน่วยความจำที่มีความเร็วสูง พลังงานที่ SRAM ใช้จะน้อยมาก โดยสามารถใช้พลังงานถ่านนาฬิกาในการทำงานได้ถึงหนึ่งปี ข้อเสียคือราคาสูง นิยมใช้ SRAM เป็นหน่วยความจำแคช เพื่อเสริมความเร็วให้กับหน่วยความจำDRAMในระบบคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเนื่องจากหน่วยความจำจะมีความเร็วต่ำกว่า




วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติของซีพียู

ซีพียู ( CPU )
ส่วนประกอบที่มีความสำคัญที่สุดมันเปรียบเสมือนกับสมองของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นส่วนที่หน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลและควบคุมการทำงานของระบบความเร็วในการทำงานของซีพียูจะมีหน่วยเป็นเมกะเฮิรตซ์ เช่น 133 , 166 , 500 , 600 MHz เป็นต้น ความเร็วในที่นี้ก็คือ ความเร็วของสัญญาณนาฬิกาที่มีแหล่งกำเนิด มาจากส่วนที่เรียกว่า คล็อค สัญญาณนาฬิกาดังกล่าวนี้จะทำให้ตัวซีพียูและระบบทั้งหมดสามารถทำงานได้ สรุปได้ว่าความถี่ ของสัญญาณนาฬิกานี้เป็นตัวบอกถึงความเร็วในการทำงานของระบบ ถ้าความเร็วของสัญญาณนาฬืกาสูงซีพียูก็จะทำงานได้เร็ว เปรียบได้กับรถที่มีแรงม้ามากกว่า ย่อมวิ่งได้เร็วกว่ารถที่มีแรงม้าน้อย ๆ
การทำงานของ CPU
CPU เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เกือบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ การเปรียบเทียบทางตรรกะ การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ การประมวลผลในรูปแบบต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งบริหารการใช้ทรัพยากรภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ องค์ประกอบของ CPU สามารถแสดงได้ดังนี้ภายใน CPU จะมีหน่วยความจำความเร็วสูงจำนวนหนึ่งเรียกว่า Register ซึ่งจะแตกต่างกันไปแล้วแต่สถาปัตยกรรมของ CPU เหล่านั้น Register เป็นหน่วยความจำที่เตรียมข้อมูลสุดท้ายก่อนทำการประมวลผล (Execution) Register ตัวที่สำคัญมากที่สุดตัวหนึ่งชื่อว่า Program Counter (PC) ทำหน้าที่ชี้ไปยังคำสั่งถัดไป ในบางครั้งอาจสับสนกับชื่อนี้เนื่องจากไม่ได้เป็นตัวนับอะไรเลย Register อีกตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่สำคัญคือ Instruction Register (IR) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลคำสั่งที่กำลังดำเนินการ (Execution) อยู่ การที่ CPU มี Registe r มากแสดงว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีความซับซ้อนและมีความสามารถมาก
บริษัทผู้ผลิตซีพียู
ที่ใช้อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์มีอยู่หลายบริษัท แต่ที่มีขายอยู่ในตลาดบ้านเรามักจะมาจาก 3ค่ายหลัก ได้แก่ อินเทล เอเอ็มดี และไซริกซ์
1.อินเทล คือ บริษัทเก่าแก่ที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีการผลิตซีพียู ซึ่งมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องและยาวนานที่สุด เริ่มตั้งแต่รุ่น 8088 80286 80386 80486 เพนเทียม เพนเทียม เอ็มเอ็มเอ็กซ์ เพนเทียมโปร เพนเทียมทู เซลเลอรอน จนกระทั่งล่าสุดคือ เพนเทียม ทรี
2.เอเอ็มดี เป็นบริษัทคู่แข่งที่สำคัญของอินเทล ปัจจุบันซีพียูจากค่ายเอเอ็มดีมีประสิทธิภาพสูงมากจนเป็นที่ยอมรับของตลาดบ้านเราแล้ว และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ซีพียูจากเอเอ็มดี เช่น K5 K6 K6-II K6-III ซีพียูรุ่นล่าสุดคือ K7
3.ไซริกซ์ ปัจจุบันยังได้รับความนิยมน้อยอยู่เมื่อเทียบกับซีพียูจากอินเทลและเอเอ็มดี แต่ก็เป็นซีพียูที่มีราคาถูกและมีคุณภาพใช้ได้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ที่ต้องการซีพียูราคาถูก ซีพียูจากไซริกซ์ เช่น 6X86 6X86L 6X86MX (MII) ซีพียูรุ่นล่าสุดคือ M III
Intel
หลังจากที่ Intel ออกCPU สำหรับอุปกรณ์พกพาในชื่อว่า Atom ไปเรียบร้อยแล้วนั้น กระแสก็ออกมาแรงเห็นๆ ทั้งกลุ่มผู้ผลิตมากมายก็เจาะตลาดขาย Netbook กันอย่างล้นหลาม Intel นั้นมีตำนานในการผลิต Microprocessor ตั้งแต่ใช้ในเครื่องคิดเลข และพัฒนาต่อยอดขึ้นมาอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งทำให้เห็นว่าศักยภาพของการพัฒนาที่ไม่มีที่สิ้นสุดนั้น ทำให้เราได้ใช้เทคโนโลยีอย่างไร้ขีดจำกัด
วิวัฒนาการตั้งแต่ ปี 1971 จนถึงปัจจุบันกัน
1971 :4004 Microprocessor รุ่นแรกของ Intel ใช้งานในเครื่องคิดเลข
1972 :8008 Microprocessor รุ่นที่พัฒนาต่อมา ใช้งานแบบ "TV typewriter" กับ dump terminal
1974 :8080 Microprocessor รุ่นนี้เป็นการใช้งานแบบ Personal Computer รุ่นแรก ๆ
1978 :8086-8088 Microprocessor หรือรุ่น XT ยังเป็นแบบ 8 bit เป็น PC ที่เริ่มใช้งานจริงจัง
1982 :80286 Microprocessor หรือรุ่น AT 16 bit เริ่มเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแพร่หลายกันแล้ว
1985 :80386 Microprocessor เริ่มเป็น CPU 32 bit และสามารถทำงานแบบ Multitasking ได้
1989 :80486 Microprocessor เข้าสู่ยุคของการใช้จอสี และมีการติดตั้ง Math-Coprocessor ในตัว
.....รุ่นแรกๆ ทาง Intel ใช้ชื่อรุ่นเป็นรุ่นของ CPU นั้นๆเลยจึงเกิดการเลียนแบบเทคโนโลยีกันขึ้นโดยค่ายอื่นได้ผลิตเทคโนโลยีตามหลังIntelมาเรื่อยๆ ต่อมาทาง Intel ได้ใช้ชื่อ Pentium แทน 80486 เนื่องจากการที่ ชื่อสินค้าที่เป็นตัวเลขกฏหมายไม่ยอมให้จดลิขสิทธิ์ จึงเป็นที่มาของชื่อ Platform ต่างๆ